วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการปักชำดอกดาวเรืองโดยไม่ต้องพึ่งเมล็ดพันธุ์

ดาวเรือง เป็นไม้ดอกที่คนไทยคุ้นเคยมาเป็นอย่างดี ซึ่งมีลักษณะเด่นที่ปลูกง่าย โตเร็ว มีสีสันที่สวยสะดุดตา อายุของดอกหลังจากเก็บเกี่ยวแล้วสามารถอยู่ได้ทนนาน และที่สำคัญดาวเรืองสามารถปลูกได้ทุกที่ในประเทศไทย  หาก ปลูกเป็นการค้าดาวเรืองก็ยังจัดเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้น แถมราคาต่อผลผลิตในช่วงที่ราคาถูกเกษตรกรผู้ปลูกก็สามารถที่จะเก็บและประคอง ตัวอยู่ได้ ในบางช่วงที่มีราคาแพง เช่น เมื่อถึงเทศกาลการเลือกตั้ง ผู้สนับสนุน หรือผู้ที่นิยมชมชอบในนักการเมืองท่านนั้น ๆ ก็มักจะซื้อพวงมาลัยที่ผลิตจากดอกดาวเรืองนำไปคล้องแขนคล้องคอนักการเมือง ที่ตนเองชอบ ซึ่งในช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงเทศกาลของดอกดาวเรืองอย่างแท้จริง
มา ดูในเรื่องการขยายพันธุ์ดาวเรือง ส่วนใหญ่พันธุ์ที่ฮิตที่สุดในตอนนี้และเป็นที่กล่าวขวัญของผู้ปลูกดาวเรือง ก็เห็นจะหนีไม่พ้นดาวเรืองพันธุ์เกษตร ซึ่งเป็นดาวเรืองที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำเข้ามาทดลองปลูกและคัดเลือกพันธุ์ที่โครงการเกษตรที่สูง และได้คัดเลือกพันธุ์ไว้ได้ 2 พันธุ์ คือพันธุ์สีทองเบอร์ 1 และพันธุ์สีทองเบอร์ 4 ซึ่งสามารถปลูกได้ทุกที่ในประเทศไทย ซึ่งรายละเอียดของพันธุ์เกษตรกรผู้คิดจะปลูกก็สามารถติดต่อซื้อเมล็ดพันธุ์ ได้  ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน ซึ่งผู้เขียนเคยติดต่อของรายชื่อของเมล็ดพันธุ์ที่ภาควิชามีจำหน่ายเพื่อนำ มาเผยแพร่ก็หลายปีแล้วนะครับ ไม่แน่ใจว่าจะย้ายที่จำหน่ายไปหรือเปล่านะครับ ก็ลองสอบถามไปเพิ่มเติมดูอีกทีนะครับเผื่อผิดพลาด
                มา ดูเรื่องการขยายพันธุ์ตามหัวข้อข้างต้นนะครับ บางคนคงนึกไม่ถึงว่าดาวเรืองนั้นสามารถขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วยังมีการขยายพันธุ์ที่รวดเร็วทันใจและให้ผลผลิตเร็วต้องบอกว่ามาก ๆ ครับ คือ “การปักชำ” ซึ่งผู้เขียนได้ทดลองปักชำโดยเมื่อทำการปักชำจนดาวเรืองออกรากแล้วผู้เขียน ได้ทดลองนำดาวเรืองไปปลูกลงกระถาง โดยใช้ดินธรรมดาผสมกับภูไมท์ซัลเฟตและปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งสามารถผลิตได้ดอกใหญ่ไม่แพ้กับต้นแม่พันธุ์ แต่สภาพต้นจะอายุสั้นกว่าต้นแม่ ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวก็หมดก่อนแม่พันธุ์พอสมควร แต่ถ้าทำเป็นการค้าและปลูกในจำนวนต้นเยอะ ๆ เมื่อมาเปรียบเทียบต้นทุนกับค่าเมล็ดแม่พันธุ์ และค่าปุ๋ยยาเคมีฆ่าแมลง ในระยะเวลาการดูแลที่ 60-70 วันแล้วเก็บเกี่ยว ผู้เขียนคิดว่าการปักชำนั้นจะได้ผลผลิตและอัตราการคุ้มทุนที่ดีกว่าครับ
                คราวนี้มาดูในเรื่องอุปกรณ์ที่ท่านจะต้องเตรียมกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งอุปกรณ์ที่ต้องเตรียมก็มีดังนี้ครับ
1.             ถุงดำขนาด 2 x 5 นิ้ว
2.             ขี้เถ้าแกลบ
3.             ไคโตซาน
4.             เซราดิกซ์ (สำหรับไม้เนื้ออ่อน) ไว้สำหรับเร่งราก
5.             เชื้อไตรโคเดอร์ม่า (แบบหยาบ)
6.             ภูไมท์ซัลเฟต (กระสอบสีเหลือง)
7.             ไม้ขนาดใหญ่ประมาณเท่านิ้วชี้ ยาวประมาณซัก 1 ฟุต
8.             ถุงข้าวสารขนาด 1 ถัง
9.             คอขวด (ที่ใช้ทำคอจุกสำหรับเพาะเห็ด) ถ้าหาไม่ได้ก็ใช้ขวดยาคูลท์ตัดครึ่ง แล้วเอาตรงส่วนปากไว้ครับ
10.      ใบมีโกนหรือคัตเตอร์ที่คม ๆ
และอันดับสุดท้ายท้ายสุดนะครับ ก็คือต้นพันธุ์ที่เพาะมาจากเมล็ดนะครับ
                โดย วิธีการปฏิบัตินั้นให้ทำการเตรียมน้ำเปล่ามาประมาณ 1 กระป๋อง (10 ลิตร) ให้ทำการละลายไตรโคเดอร์ม่า (ชนิดหยาบ) ลงไปประมาณ 2 ขีด แล้วเติมไคโตซาน MT ลง ไป 20 ซีซี. ภูไมท์ซัลเฟต 1 กิโลกรัม คนให้ละลายเข้ากันเป็นอย่างดี ซึ่งการละลายอาจจะมีตะกอนของภูไมท์ซัลเฟตที่หลงเหลืออยู่ท่านผู้อ่านไม่ต้อ ไปใส่ใจนะครับ ไม่เป็นไร กากที่เหลือของภูไมท์ซัลเฟตสามารถนำไปรดใส่ต้นไม้ที่เราปลูกได้นะครับ ยังมีประโยชน์อีกเพียบครับ โดยการปฏิบัติในขั้นตอนนี้เป็นการป้องกันและกำจัดเชื้อราที่เป็นสาเหตุให้ ดาวเรืองที่เราปักชำเน่า
                ขั้น ตอนต่อไปก็ให้นำขึ้นเถ้าแกลบมากรอกใส่ถุงดำขนาดที่เราเตรียมไว้ โดยกรอกจนเต็มและกระทุ้งให้ขี้เถ้าแกลบแน่นพอประมาณ หากขี้ถ้าแกลบยุบก็ทำการเติมไปจนเต็มถุง ความแน่นนั้นเอาให้เหมาะสมละกันครับ จะกรอกเท่าไหร่ก็ขึ้นอยู่กับเราว่าจะชำกิ่งดาวเรืองจำนวนมากขนาดใดก็เลือก กันเอา
                นำ น้ำยาเร่งราก เซราดิกซ์ มาละลายน้ำตามอัตราที่ฉลากกำหนดครับ ซึ่งผู้เขียนจะเน้นนำเซราดิกซ์มาละลายน้ำพอแฉะ ๆ เหมือนกับปูนกินหมากครับ เป็นวิธีที่ดีที่สุดครับ ไม่ใส่น้ำจนเยอะ จนใสไปนะครับ
                ขั้น ตอนต่อไปก็มาถึงขั้นตอนการคัดเลือกกิ่งพันธุ์ โดยส่วนใหญ่ผู้เขียนจะเน้นที่ยอดเป็นหลักครับ ยิ่งถ้าได้ยอดที่มีดอกด้วยแล้ว การออกดอกก็จะรวดเร็ว ถ้าจะทำเพื่อการค้าก็เลือกยอดอ่อน ๆ นะครับ เป็นยอดที่ยังไม่เป็นดอก ซึ่งการตัดยอดของต้นแม่มาปักชำนี้ จะทำให้ยอดตรงที่เราตัดแตกกิ่งอ่อน ๆ ออกมาอีกเรื่อย ๆ เราก็จะตัดกิ่งไปปักชำอยู่เรื่อย ๆ ไปตลอดจนกระทั่งต้นแม่พันธุ์แก่นั่นแหละครับ ที่ผู้เขียนบอกว่าชอบนำยอดที่มีดอกมาปักชำแล้วได้เห็นดอกเร็วนั้นเพราะผู้ เขียนใช้ยอดที่เป็นต้นแก่ของดาวเรืองนั่นเองครับ จึงไม่ผิดอะไรที่จะเห็นดอกเร็วครับ ส่วนวิธีการตัดให้ใช้มีดคัตเตอร์คม ๆ ตัดต่ำกว่าข้อประมาณสัก 1 มิลลิเมตรครับ ความยาวของกิ่งชำดาวเรืองก็ประมาณ 3-4 ข้อของใบ โดยนับจากยอดมานะครับ โดยความยาวนันขึ้นอยู่กับความเจริญเติบโตของต้นแม่ดาวเรืองที่เราจะนำมาเป็น แม่พันธุ์สำหรับปักชำนะครับ ถ้าสภาพต้นสมบูรณ์ข้อของยอดาวเรืองนั้นก็จะยาว หากไม่สมบูรณ์ก็จะสั้น ก็ตัดกันตามใจชอบละกันครับ 3 ข้อหรือ 4 ข้อก็ได้ครับ  ใช้ มีดคัตเตอร์ริดใบออก โดยริดออกปะมาณ 2 ข้อ นับจากส่วนโคนข้อแรกที่เราตัดครับ หรือบางท่านก็กะเอาครับว่าเวลานำกิ่งไปปักไว้บนถุงดำ ใบล่างของกิ่งชำจะไม่ไปสัมผัสกับขี้เถ้าแกลบ เพราะถ้าสัมผัสก็จะเป็นการเพิ่มเปอร์เซ็นต์การเกิดเชื้อราของกิ่งที่เราจะชำ ครับ เมื่อได้กิ่งดาวเรืองที่ทำการตัดแต่งเรียบร้อยแล้ว ให้เราทำการปาดเฉียง ๆ บริเวณข้อล่างประมาณสัก 3 แผลครับ ปาดบาง ๆ เบา ๆ นะครับ หากหนักมือเดี๋ยวจะขาดครับ ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนของการเตรียมกิ่งพันธุ์
                ขั้น ตอนต่อไปก็นำขี้เถ้าแกลบที่เราบรรจุไว้ในถุงดำมาจุ่มลงไปในน้ำที่เราผสมไตร โคเดอร์ม่าและไตซาน แค่จุ่มลงไปก็พอนะครับ จากนั้นก็เอาขึ้นมา แล้วนำไม้ขนาดเท่ากับนิ้วชี้ที่เตรียมเอาไว้ ปักลงไปตรงกลางของถุงดำเพื่อให้เกิดรูที่จะเสียบกิ่งพันธุ์ดาวเรืองลงไป จากนั้นนำกิ่งพันธุ์ดาวเรืองที่เราเตรียมไว้นำโคนตรงบริเวณที่เราปาดให้เกิด แผลไว้จุ่มลงไปในน้ำยาที่เราละลายเซราดิกซ์ไว้พอมิดข้อ เมื่อจุ่มเสร็จเรียบร้อยแล้วก็นำไปปักไว้ในถุงดำที่เราทำให้เกิดรูไว้จาก นั้นทำการบีบถุงเพื่อให้กิ่งชำสัมผัสกับขี้เถ้าแกลบ ก็เป็นอันเสร็จ จากนั้นก็นำกิ่งพันธุ์ที่เราปักชำลงในถุงดำไปใส่ในถุงข้าวสารที่เราเตรียม ไว้ ซึ่งถุงข้าวสาร 1 ถัง สามารถที่จะใส่กิ่งชำดาวเรืองได้ประมาณ 7-10 ต้นครับ เมื่อวางจนเต็มพื้นที่ของถุงแล้วให้ทำการรวบปากถุง (บนสุด) แล้วนำคอขวดเพาะเห็ด หรือขวดยาคูลท์ที่เราตัดไว้สวมลงไป พยายามทำให้ถุงโป่งไว้นะครับ ถ้าเป็นถุงอย่างหนาหน่อยก็จะเป็นการดี พยายามอย่าให้ถุงด้านบนแฟบลงมาติดกับใบนะครับ เพราะจะทำให้ใบของกิ่งพันธุ์ดาวเรืองที่เราชำไว้เน่าได้ ทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ โดยไม่ต้องให้น้ำ แล้วทำการสุ่มว่าดาวเรืองที่เราชำนั้นเกิดรากหรือไม่ (ส่วนมากจะเกิดรากภายใน 1 สัปดาห์ครับ) เมื่อครบ 1 สัปดาห์มีรากงอกออกมาแล้วให้ทำการนำออกจากถุงข้าวสาร นำเข้าแปลงเพาะชำรดน้ำทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง ประมาณ 1 อาทิตย์ก็สามารถเอาลงแปลงปลูกได้แล้วครับ
                อย่า ลืมนะครับการปักชำวิธีนี้ข้อสำคัญคือการป้องกันเชื้อราให้ดีนะครับ หากกิ่งชำดาวเรืองใดเกิดเชื้อราก็จะนำให้ต้นอื่น ๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน (ในถุงข้าวสารที่เราใส่กิ่งชำดาวเรืองไว้) เป็นเชื้อราไปด้วยครับ ทำให้เสียเวลาและเปลืองต้นทุนครับ เท่าที่ผู้เขียนทดลองทำวิธีดังกล่าวข้างต้นจะไม่เกิดปัญหาของเชื้อราแต่ อย่างใดครับ
                การ ปักชำดาวเรืองนี้เป็นวิธีการที่ง่ายและได้ผลผลิตเร็วนะครับ ประหยัดต้นทุนเรื่องค่าเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองได้ดีครับ แต่ข้อเสียคือระยะเวลาการเก็บผลผลิตจะสั้น แต่ในทางปฏิบัติแล้วผู้เขียนคิดว่าหากเราดูแลต้นดาวเรืองที่เราชำแล้วลงปลูก เป็นอย่างดี ป้องกันโรคและแมลงอย่างถูกต้อง มีการให้น้ำให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวก็จะหนีต้นแม่ไม่มากหรอกครับ ท่านผู้อ่านลองไปปฏิบัติกันดูนะครับ หากมีข้อสงสัยก็สอบถามมาที่ 08-1646-0212 ยินดีให้คำตอบที่กระจ่างสำหรับการปลูกดาวเรืองด้วยวิธีการชำจากยอดดาวเรือง ที่เพาะด้วยเมล็ดครับ

plant2pet : ร้านค้า จำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช online www.plant2pet.com
จำหน่ายเมล็ดพันธุ์พืช แบบซอง
จำหน่าย ยาถ่ายพยาธิ สำหรับสุนัขและแมวคุณภาพสูง
@@@ ร้านเรามี เมล็ดพันธุ์พืช คุณภาพสูง ราคาไม่แพง จำหน่าย@@@
   
  เมล็ดพันธุ์ผักแบบซอง  ราคาซองละ 15 บาท มีหลายชนิด เช่น  ผักชี  พริกขี้หนู  ถั่วฝักยาว  ผักกาดขาว และ  อีกมากมาย
  เมล็ดดอกไม้ แบบซอง  ราคาซองละ 20 บาท  เช่น  ดาวเรือง  ดาวกระจาย  ดอกทานตะวัน  ดอกเบญจมาศ
สนใจสินค้าของทางร้านเชิญเข้าชมสินค้าได้เลยครับ  www.plant2pet.com
Tel : 089-992-1777 , 02-395-0070
BB pin : 22299B2B

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น